เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
Moving Average (MA) เป็น indicator รูปแบบหนึ่ง เป็นการคำนวณหาค่าเฉลี่ยราคาหุ้นหรือดัชนีในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นี้อาจจะใช้ข้อมูลจากราคาปิด ราคาเปิด ราคาสูงสุด ต่ำสุด ก็ได้ (โดยปกติค่า default ของมันจะเป็นราคาปิด)
ประโยชน์ของเส้นค่าเฉลี่ยคืนที่ คือ ไว้หาแนวโน้มของราคาหุ้น สามารถหาจุดซื้อและขาย และหาแนวรับและแนวต้านได้ และ MA เป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและสามารถนำไปใช้ประกอบกับเครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆได้ด้วย
![]() |
Moving Average |
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ในที่นี้ผมขอนำมาเขียนเฉพาะที่นิยมใช้กัน คือ SMA และ EMA
1) Simple Moving Average (SMA) - เส้นค่าเฉลี่ยทั่วไป
Simple Moving Average (SMA) คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย และนิยมใช้กันมาก การหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่วิธีนี้จะให้น้ำหนักกับราคาทุกค่าที่นำมาคำนวณเท่ากันหมด ซึ่งหลักการคำนวณไม่ซับซ้อน คือเอาข้อมูลในช่วงเวลาหนึ่งมาหาค่าเฉลี่ยกัน เช่น การหาเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคาในช่วงเวลา 10 วัน ก็จะคำนวณโดยนำเอาราคาหุ้น ณ วันปัจจุบันบวกกันกับราคาหุ้นอีก 9 วันก่อนหน้า แล้วหารด้วย 10 วัน นั้นเอง
ข้อเสียของ SMA คือค่าเฉลี่ยที่ได้จะมีผลในช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการคำนวณเท่านั้น เพราะฉะนั้นแนวโน้มเส้นค่าเฉลี่ยที่ได้จึงไม่ใช่แนวโน้มที่มาจากข้อมูลราคาย้อนหลังทั้งหมด นอกจากนี้วิธีการคำนวณ SMA ให้ความสำคัญกับทุกๆวันเท่ากัน เช่น ในการหา SMA 10 วัน วันแรกถึงวันสุดท้ายจะถูกถ่วงน้ำหนักด้วยค่าที่เท่ากันหมด คือ 10% แต่นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าควรจะให้ความสำคัญกับราคาในวันที่ใกล้เคียงกับวันปัจจุบันมากกว่า
2) Exponential Moving Average (EMA) - เส้นค่าเฉลี่ยแบบ Exponential
Exponential Moving Average (EMA) โดยเส้น EMA จะถ่วงน้ำหนักให้ความสำคัญกับราคาวันปัจจุบันมากที่สุด คำนวณโดยมีการ weight ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับปัจจุบันมากกว่าอดีต โดยไม่ทิ้งข้อมูลเดิม เพียงแต่ข้อมูลเก่าจะมีผลถ่วงน้ำหนักน้อยลดหลั่นกันไป รวมทั้งอาศัยตัวเลขตัวหนึ่งที่เรียกว่าค่า Smoothing Factor (SF) มาคำนวณหาค่าเฉลี่ยจากราคาย้อนหลังตั้งแต่อดีต
ดังนั้นค่าของเส้น EMA จะสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาย้อนหลังตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ขณะที่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวอื่นๆจะสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของราคาเฉพาะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น
SMA vs EMA
![]() |
SMA vs EMA |
จากรูปจะเห้นได้ว่า EMA จะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า SMA
EMA จะมีความไวต่อความผันผวนของราคามากกว่า SMA เนื่องจาก EMA เอาข้อมูลเดิมทั้งหมดมาถ่วงน้ำหนัก แต่ SMA เอาเฉพาะข้อมูลในระยะเวลานั้นโดยให้น้ำหนักเท่ากัน
ดังนั้นควรศึกษาพฤติกรรมหุ้นตัวที่เราสนใจ ถ้าหุ้นที่ราคาขึ้นลงอย่างรุนแรงควรใช้ EMA ส่วน SMA ใช้กับหุ้นที่ราคาไม่เคลื่อนไหวอย่างรุนแรงมากนัก
ใช้เส้นค่าเฉลี่นเคลื่อนที่กี่วันดี
คำตอบของผมก็คือ ให้สังเกตการณ์จากหุ้นนั้นๆ หรือการทำ Back Test นั่นเอง
แต่โดยปกติแล้วการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่วิเคราะห์หุ้นสามารถแบ่งได้ตามระยะเวลา ดังนี้
Very Short Term - ระยะสั้นมาก : 5 - 10 วัน
Short Term - ระยะสั้น : 10 - 25 วัน
Intermediate - ระยะกลาง : 25 - 75 วัน
Long Term - ระยะยาว : 75 - 200 วัน
การใช้งานและแปลความหมาย
1. ใช้เส้น MA กับราคาปิด
สัญญาณซื้อ: เมื่อราคาปิดตัดเส้น MA ขึ้นไป
สัญญาณขาย: เมื่อราคาปิดตัดเส้น MA ลงมา
2. ใช้เส้น MA 2 เส้น
สัญญาณซื้อ: เมื่อเส้น MA ที่สั้น ตัดเส้น MA ที่ยาวกว่าขึ้นไป (Golden Cross)
สัญญ่าณขาย: เมื่อเส้น MA ที่สั้น ตัดเส้น MA ที่ยาวกว่าลงไป (Dead Cross)
3. การเรียงตัวของเส้น MA
ขาขึ้น: การเรียงตัวของเส้น MA สั้นไปหาเส้น MA ยาว จากบนลงล่าง เช่น 10, 25, 75 และ 200
ขาลง: การเรียงตัวของเส้น MA ยาวไปหาเส้น MA สั้น จากบนลงล่าง เช่น 200, 75, 25 และ 10
ถ้าเรียงตัวไม่เป็นไปตามลำดับ ถือว่าเป็นขาขึ้นหรือลงที่ไม่สมบูรณ์
Enjoy,
Hybrid Investor
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น