วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Dow's Theory - ทฤษฎีดาว "BULL or BEAR"

Dow's Theory - ทฤษฎีดาว
"BULL or BEAR"


ทฤษฎีดาว เกิดจากการรวบรวมบทความจากหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal ซึ่ง Charles Henry Dow เป็นผู้ร่วมก่อตั้งขึ้น โดยได้สังเกตพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของดัชนีดาวโจนส์ที่ได้นำมาทำเป็นกราฟว่ามันมีรูปแบบ (Price Pattern) ที่สามารถคาดคะเนได้ 

การรู้ทฤษฏีดาวนี้จะทำให้นักลงทุนรู้ว่าตอนนี้เราน่าจะอยู่ที่แนวโน้มไหน เพื่อจะได้เตรียมตัววางแผนรับมือกับตลาดได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว



การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในทุกๆแนวโน้มจะเป็นผลจากปัจจัยพิ้นฐาน และจิตวิทยามวลชน ซึ่งแบ่งได้ 2 แนวโน้มใหญ่ คือ แนวโน้มขาขึ้น (ตลาดกระทิง - Bull Market) และแนวโน้มขาลง (ตลาดหมี - Bear Market)


ดาวได้แบ่งแนวโน้มราคาหุ้นออกเป็น 3 กลุ่มตามระยะเวลา ดังนี้

1. Primary Trend - แนวโน้มใหญ่ หรือเป็นแนวโน้มระยะยาว โดยปกติจะใช้เวลา 200 วันขึ้นไป และอาจยาวนานถึง 4 ปี ซึ่งแบ่งเป็น
  • ขาขึ้น:  จุดต่ำสุดใหม่จะสูงกว่าจุดต่ำสุดเก่า, จุดสูงสุดใหม่จะสูงกว่าจุดสูงสุดเก่า และระยะเวลาทีหุ้นวิ่งขึ้นจะยาวกว่าระยะเวลาที่หุ้นวิ่งลง
  • ขาลง:  จุดต่ำสุดใหม่จะต่ำกว่าจุดต่ำสุดเก่า, จุดสูงสุดใหม่จะต่ำกว่าจุดสูงสุดเก่า และระยะเวลาทีหุ้นวิ่งลงจะยาวกว่าระยะเวลาที่หุ้นวิ่งขึ้น
2. Intermediate Trend - แนวโน้มรอง หรือเป็นแนวโน้มระยะกลาง เป็นระยะที่เบี่ยงเบนจากแนวโน้มใหญ่ โดยมากใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 3 สัปดาห์จนถึงหลายเดือนก็ได้ โดยแนวโน้มรองนี้จะรวมตัวกันเป็นแนวโน้มใหญ่

3. Minor Trend - แนวโน้มย่อย หรือเป็นแนวโน้มระยะสั้น แนวโน้มย่อยนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มรอง เป็นการเคลื่อนไหวของดัชนีเป็นรายวันถึงไม่เกิน 3 สัปดาห์ ซึ่งเราจะไม่ให้ความสำคัญกับแนวโน้มนี้มากนักเพราะมีความผันผวนสูง มักมองเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวโน้มรองและแนวโน้มใหญ่ครับ


และดาวได้แบ่งกลุ่มตามแนวโน้มของราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลง โดยแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ

Bull Market Period - ช่วงตลาดกระทิง  (แนวโน้มขึ้น)

1. Accumulation Stage - ระยะสะสมหุ้น: เมื่อราคาหุ้นตกต่ำลงมาถึงจุดๆหนึ่ง เกิดเนื่องจากภาวะดัชนี้ตกลงมาเป็นระยะเวลานาน จนผู้คนเบื่อหน่าย ซึ่งส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายต่อวันน้อยลงมากอย่างที่ไม่เป็นมาก่อน ในช่วงนี้ผู้คนจะไม่ค่อยทำอะไรกับตลาดหุ้น ไม่ค่อยมีคนอยากขายเพราะขายหมดแล้วหรือขาดทุนมากจึงกัดฟันถือหุ้นไว้ ส่วนคนซื้อก็ไม่กล้าซื้อเพราะเข็ดกับตลาดขาลงเป็นเวลานานที่ผ่านมา
ซึ่งระยะนี้เป็นรอยต่อของการเปลี่ยนอแลงปัจจัยพื้นฐานครั้งสำคัญของกิจการในตลาดหลักทรัพย์ สภาวะแวดล้อมต่างๆไม่ดี ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ผลกำไรของบริษัทออกมาต่ำกว่าคาดการ  ช่วงนี้นี่เองจะมีนักลงทุนระยะยาว หรือนักลงทุนเน้นคุณค่า หรือนักลงทุนสายตากว้างไกล เริ่มคิดว่าไม่น่าจะมีอะไรแย่ไปกว่านี้แล้ว อย่างมากก็เสียเวลารอคอยเท่านั้น นักลงทุนเหล่านี้จะเริ่มเข้ามาซื้อในลักษณะสะสมหุ้นโดยไม่ไล่ซื้อขึ้น แต่จะตั้งรับเมื่อราคาหุ้นลงมาได้ราคาเป้าหมาย ระยะนี้ถือว่าเป็นระยะสุดท้ายของแนวโน้มขาลง และเป็นจังหวะที่น่าลงทุนที่สุด 

2. Collective Stage (Participation) - ระยะกักตุนหุ้น: ระยะนี้มูลค่าการซื้อขายต่อวันจะเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ราคาหุ้นรายตัวขยับขึ้นทีละนิด เริ่มปรกฎข่าวดี เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว 

3. Boom Stage (Excess) - ระยะบูม: ระยะนี้หุ้นทุกตัวจะขึ้นในอัตราที่สูงแบะติดต่อกันหลายวัน หลายอาทิตย์ จนถึงหลายเดือน มูลค่าการซื้อขายต่อวันจะสูงขึ้นหลายเท่า จำนวนนักลงทุนหน้าใหม่เข้าตลาดเป็นจำนวนมาก หนังสือสอนเล่นหุ้นมีวางจำหน่ายเป็นดอกเห็ดและติด Top Seller จำนวนมาก มีข่าวดีและข่าวลือในทางที่ดีเข้ามามาก และมีหุ้น IPO หน้าใหม่เข้าตลาดมาเยอะ ในที่สุดแล้วช่วงนี้จะเป็นจุดสูงสุดของแนวโน้มขาขึ้นและจะเริ่มเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลง

Bear Market Period - ช่วงตลาดหมี (แนวโน้มลง)

1. Distribution Stage - ระยะแจกจ่าย: เป็นระยะแรกของตลาดหมี ซึ่งเป็นช่วงที่ดัชนีทำ New High อย่างต่อเนื่อง ช่วงนี้นี่เองเป็นช่วงที่รายใหญ่แจกจ่ายหุ้นที่มีอยู่ในมือออก เนืองจากเห็นว่าราคาหุ้นขึ้นมากกว่าปัจจัยพื้นฐานแล้ว นักลงทุนทั่วไปเริ่มหวั่นไหวว่าราคาขึ้นมาสูงมากเกินกว่าอัตราเงินปันผล และ P/E ของดัชนีและหุ้นรายตัวสูงจนเป็นประวัติการณ์ ก่อนจะเข้าสู่ตลาดหมีจะสังเกตได้ว่าราคาดัชนีจะแกว่งตัวระหว่างจุดสุงสุดและจุดต่ำสุดห่างกันมาก และราคาหุ้นขึ้นแต่มูลค่าการซื้อขายกลับไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ให้ระวังไว้ว่าจะขึ้นได้อีกไม่ไกล และถ้าราคาหุ้นลดลงในขณะที่ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้น แสดงว่าชัดเจน ให้เริ่มลด Port ได้เลย

2. Panic Stage - ระยะตกใจ: ระยะนี้ข่าวร้ายข่าวลือในทางที่ไม่ดีต่างๆเริ่มออกมามากมาย เห็นเหตุที่นำมาอ้างว่าหุ้นตกลงอย่างรุนแรง คนเล่นหุ้นที่ Cut Loss ไม่เป็นหรือไม่ทันก็จะติดหุ้นในราคาสูง ระยะนี้สังเกตได้จากหุ้นเก็งกำไรจะตกลงอย่างรวดเร็ว และแม้แต่หุ้นพื้นฐานดีก็ตกลง เพียงแต่ตกลงมาในอัตราที่น้อยกว่าเท่านั้น โดยหลังการตกของราคาหุ้นในช่วงๆหนึ่งจะมีการดีดกลับขึ้นไปของราคาหุ้น ซึ่งเป็นการ Rebound เท่านั้น ไม่แม่นเทคนิคจริงอย่างเสี่ยงซื้อเด็ดขาด

3. Consolidation Stage - ระยะรวบรวมกำลัง: ระยะนี้หุ้นจะมีราคาต่ำลงมา ซึ่งอาจจะต่ำกว่ามูลค่าสุทธิทางบัญชี (Book Value) หรืออาจต่ำกว่าราคาพาร์ ทำให้กองทุนต่างๆเริ่มเก็บหุ้น แม้ว่าสภาวะโดยทั่วไปยังไม่มีอะไรดีขึ้นก็ตาม ปริมาณการซื้อขายอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าความน่าจะเป็น โดยระยะนี้จะคาบเกียวกับระยะแรกของแนวโน้มขาขึ้น (ระยะสะสม) ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่วิเคราะห์ยากมากจนแทบไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลงอีก


จบแล้วนะครับสำหรับทฤษฎีดาว ผมแนะนำให้เรียนรู้การวิเคราะห์เริ่มจากการมองภาพรวมของตลาดก่อนว่ามีทิศทางใด จากนั้นค่อยศึกษาตัวช่วยทางเทคนิคเพื่อเพิ่มความแม่นยำว่าเราอยู่ในช่วงไหนกันแน่ เช่น Moving Average, Price & Volume ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปใน Hybrid Investor Blog แห่งนี้ครับ


ใครสนใจสามารอ่านศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ StockCharts.com » ChartSchool » Market Analysis » Dow Theory


Enjoy your Dow's Theory,

Hybrid Investor



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น