วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Moving Average (MA) - เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

Moving Average (MA)
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

Moving Average (MA) เป็น indicator รูปแบบหนึ่ง เป็นการคำนวณหาค่าเฉลี่ยราคาหุ้นหรือดัชนีในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นี้อาจจะใช้ข้อมูลจากราคาปิด ราคาเปิด ราคาสูงสุด ต่ำสุด ก็ได้ (โดยปกติค่า default ของมันจะเป็นราคาปิด)

ประโยชน์ของเส้นค่าเฉลี่ยคืนที่ คือ ไว้หาแนวโน้มของราคาหุ้น สามารถหาจุดซื้อและขาย และหาแนวรับและแนวต้านได้  และ MA เป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและสามารถนำไปใช้ประกอบกับเครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆได้ด้วย
Moving Average


เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ในที่นี้ผมขอนำมาเขียนเฉพาะที่นิยมใช้กัน  คือ SMA และ EMA

1) Simple Moving Average (SMA) - เส้นค่าเฉลี่ยทั่วไป

Simple Moving Average (SMA) คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย และนิยมใช้กันมาก การหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่วิธีนี้จะให้น้ำหนักกับราคาทุกค่าที่นำมาคำนวณเท่ากันหมด ซึ่งหลักการคำนวณไม่ซับซ้อน คือเอาข้อมูลในช่วงเวลาหนึ่งมาหาค่าเฉลี่ยกัน เช่น การหาเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคาในช่วงเวลา 10 วัน ก็จะคำนวณโดยนำเอาราคาหุ้น ณ วันปัจจุบันบวกกันกับราคาหุ้นอีก 9 วันก่อนหน้า แล้วหารด้วย 10 วัน นั้นเอง
ข้อเสียของ SMA คือค่าเฉลี่ยที่ได้จะมีผลในช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการคำนวณเท่านั้น เพราะฉะนั้นแนวโน้มเส้นค่าเฉลี่ยที่ได้จึงไม่ใช่แนวโน้มที่มาจากข้อมูลราคาย้อนหลังทั้งหมด นอกจากนี้วิธีการคำนวณ SMA ให้ความสำคัญกับทุกๆวันเท่ากัน เช่น ในการหา SMA 10 วัน วันแรกถึงวันสุดท้ายจะถูกถ่วงน้ำหนักด้วยค่าที่เท่ากันหมด คือ 10% แต่นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าควรจะให้ความสำคัญกับราคาในวันที่ใกล้เคียงกับวันปัจจุบันมากกว่า


2) Exponential Moving Average (EMA) - เส้นค่าเฉลี่ยแบบ Exponential

Exponential Moving Average (EMA) โดยเส้น EMA จะถ่วงน้ำหนักให้ความสำคัญกับราคาวันปัจจุบันมากที่สุด คำนวณโดยมีการ weight ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับปัจจุบันมากกว่าอดีต โดยไม่ทิ้งข้อมูลเดิม เพียงแต่ข้อมูลเก่าจะมีผลถ่วงน้ำหนักน้อยลดหลั่นกันไป รวมทั้งอาศัยตัวเลขตัวหนึ่งที่เรียกว่าค่า Smoothing Factor (SF) มาคำนวณหาค่าเฉลี่ยจากราคาย้อนหลังตั้งแต่อดีต
ดังนั้นค่าของเส้น EMA จะสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาย้อนหลังตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ขณะที่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวอื่นๆจะสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของราคาเฉพาะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น


SMA vs EMA
SMA vs EMA
ทีนี้มาดูกันว่า SMA ต่างกับ EMA อย่างไร
จากรูปจะเห้นได้ว่า EMA จะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า SMA
EMA จะมีความไวต่อความผันผวนของราคามากกว่า SMA เนื่องจาก EMA เอาข้อมูลเดิมทั้งหมดมาถ่วงน้ำหนัก แต่ SMA เอาเฉพาะข้อมูลในระยะเวลานั้นโดยให้น้ำหนักเท่ากัน
ดังนั้นควรศึกษาพฤติกรรมหุ้นตัวที่เราสนใจ ถ้าหุ้นที่ราคาขึ้นลงอย่างรุนแรงควรใช้ EMA ส่วน SMA ใช้กับหุ้นที่ราคาไม่เคลื่อนไหวอย่างรุนแรงมากนัก


ใช้เส้นค่าเฉลี่นเคลื่อนที่กี่วันดี

คำตอบของผมก็คือ ให้สังเกตการณ์จากหุ้นนั้นๆ หรือการทำ Back Test นั่นเอง
แต่โดยปกติแล้วการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่วิเคราะห์หุ้นสามารถแบ่งได้ตามระยะเวลา ดังนี้

Very Short Term - ระยะสั้นมาก : 5 - 10 วัน
Short Term - ระยะสั้น : 10 - 25 วัน
Intermediate - ระยะกลาง : 25 - 75 วัน
Long Term - ระยะยาว : 75 - 200 วัน


การใช้งานและแปลความหมาย

1. ใช้เส้น MA กับราคาปิด
สัญญาณซื้อ: เมื่อราคาปิดตัดเส้น MA ขึ้นไป
สัญญาณขาย: เมื่อราคาปิดตัดเส้น MA ลงมา


2. ใช้เส้น MA 2 เส้น
สัญญาณซื้อ: เมื่อเส้น MA ที่สั้น ตัดเส้น MA ที่ยาวกว่าขึ้นไป (Golden Cross)
สัญญ่าณขาย: เมื่อเส้น MA ที่สั้น ตัดเส้น MA ที่ยาวกว่าลงไป (Dead Cross)


3. การเรียงตัวของเส้น MA
ขาขึ้น: การเรียงตัวของเส้น MA สั้นไปหาเส้น MA ยาว จากบนลงล่าง เช่น 10, 25, 75 และ 200
ขาลง: การเรียงตัวของเส้น MA ยาวไปหาเส้น MA สั้น จากบนลงล่าง เช่น 200, 75, 25 และ 10
ถ้าเรียงตัวไม่เป็นไปตามลำดับ ถือว่าเป็นขาขึ้นหรือลงที่ไม่สมบูรณ์


Enjoy,


Hybrid Investor


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น