วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Candlestick Pattern - Shooting Star

Shooting Star
ดาวตก



Shooting Star: การยิงดาวตกมีรูปแบบจากขาขึ้นแล้วเจอแท่งสีเขียวหรือแดงขนาดเล็ก มีหางขึ้นไปด้านบน และด้านล่างอาจมีหางเล็กน้อยหรือไม่มีก็ได้ ยิ่งถ้าแท่งดาวตกนี้เปิดกระโดดมี Gap จากแท่งก่อนหน้าสัญญาณยิ่งชัดเจน
ความหมาย: เป็นสัญญาณกลับทิศเป็นขาลงจากแนวโน้มขาขึ้น

ย้อนกลับไปหน้า Candlesticks Intro: รู้จักกับกราฟแท่งเทียน

Candlestick Pattern - Engulfing

Engulfing



Bullish Engulfing: แท่งแดงขนาดเล็กตามด้วยแท่งเขียวขนาดใหญ่ โดยจุดต่ำสุดของแท่งเขียวจะต่ำกว่าจุดต่ำสุดของแท่งแดง และจุดสูงสุดของแท่งเขียวจะสูงกว่าจุดสูงสุดของแท่งแดง
ความหมาย: เป็นสัญญาณกลับทิศเป็นขาขึ้นจากแนวโน้มขาลง จะเกิดสัญญาณที่ชัดเจนมากถ้ามี Volume ซื้อขายหนาแน่น มักเกิดหลังจากการตกต่ำของหุ้น

Bearish Engulfing:  แท่งเขียวขนาดเล็กตามด้วยแท่งแดงขนาดใหญ่ โดยจุดต่ำสุดของแท่งแดงจะต่ำกว่าจุดต่ำสุดของแท่งเขียว และจุดสูงสุดของแท่งแดงจะสูงกว่าจุดสูงสุดของแท่งเขียว
เป็นสัญญาณกลับทิศเป็นขาลงจากแนวโน้มขาขึ้น จะเกิดสัญญาณที่ชัดเจนมากถ้ามี Volume ซื้อขายหนาแน่น มักเกิดหลังจากภาวะกระทิง

ย้อนกลับไปหน้า Candlesticks Intro: รู้จักกับกราฟแท่งเทียน

Candlestick Pattern - Harami

Harami


Bearish Harami: แท่งแดงขนาดเล็กอยู่ถัดจากเขียวขนาดใหญ่ โดย body ของแท่งแดงอยู่ระหว่างแท่งเขียว
ความหมาย: เป็นสัญญาณกลับทิศเป็นขาลงจากแนวโน้มขาขึ้น

Bullish Harami: แท่งเขียวขนาดเล็กอยู่ถัดจากแดงขนาดใหญ่ โดย body ของแท่งเขียวอยู่ระหว่างแท่งแดง
ความหมาย: เป็นสัญญาณกลับทิศเป็นขาขึ้นจากแนวโน้มขาลง 

ย้อนกลับไปหน้า Candlesticks Intro: รู้จักกับกราฟแท่งเทียน

Candlestick Pattern - Doji

Doji



Doji และ Long-legged Doji: ราคาเปิดและราคาปิดในวันนั้นเท่ากันอยู่ที่ตรงกลางของกราฟแท่งเทียนพอดี
ความหมาย: แรงซื้อและแรงขายมีพลังในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน

Gravestone Doji: ราคาเปิดและราคาปิดอยูที่จุดเดียวกันคือจุดต่ำสุด แสดงถึงกระทิงที่หมดแรง สู้แรงของหมีไม่ได้
ความหมาย: เป็นสัญญาณกลับทิศเป็นขาลงจากแนวโน้มขาขึ้น หางยิ่งยาวมากเท่าไหร่ก็แสดงถึงพลังของหมีมากเท่านั้น

Dragonfly Doji: ราคาเปิดและราคาปิดอยูที่จุดเดียวกันคือจุดสูงสุด แสดงถึงหมีที่หมดแรง สู้แรงของกระทิงไม่ได้
ความหมาย: เป็นสัญญาณกลับทิศเป็นขาขึ้นจากแนวโน้มขาลง หางยิ่งยาวมากเท่าไหร่ก็แสดงถึงพลังของกระทิงมากเท่านั้น

ย้อนกลับไปหน้า Candlesticks Intro: รู้จักกับกราฟแท่งเทียน

Candlesticks Intro: รู้จักกับกราฟแท่งเทียน

Candlesticks Intro 
รู้จักกับกราฟแท่งเทียน

กราฟแท่งเทียนเป็นการแสดงแผนภูมิรูปแบบหนึ่งเพื่อใช้แสดงราคาหุ้น โดยประกอบไปด้วย ราคาเปิด ราคาปิด ราคาสูงสุด และราคาต่ำสุด 
นักลงทุนทุกท่านควรศึกษาวิธีการอ่านกราฟแท่งเทียน เพื่ออย่างน้อยท่านจะได้อ่านกราฟเป็นและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการนำไปต่อยอดกับ Indicator ต่างๆเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ต่อไปครับ

ประวัติของกราฟแท่งเทียนนี้ถูกคิดค้นโดยชาวญี่ปุ่นตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เพื่อนำมาวิเคราะห์การเทรดข้าว 
ต่อมา Steve Nison ได้พัฒนารูปแบบขึ้นและเขียนไว้ในหนังสือ Candlestick Charting ซึ่งคล้ายกับรูปแบบที่เราเห็นในปัจจุบัน

ส่วนประกอบของกราฟแท่งทียน

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Financial Analysis (5/5) - Notes to Financial Statement

Notes to Financial Statement
หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน คือ ข้อมูลที่ใช้อธิบายตัวเลขในงบการเงิน โดยจะขยายความข้อมูลต่างๆเพิ่มเติมในรายละเอียด ช่วยให้เข้าใจถึงที่มาของตัวเลขต่างๆ หรือกล่าวโดยง่าย หมายเหตุประกอบงบการเงินก็คือคำแปลความหมายเพิ่มเติมจากตัวเลขที่แสดงในงบการเงินนั้นเอง



หมายเหตุประกอบงบการเงินนี้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน และถือเป็นส่วนที่สำคัญ โดยการเปิดเผยข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งไม่สามารถหาได้จากการอ่านแค่ตัวเลขในงบการเงิน และข้อมูลเชิงคุณภาพเหล่านี้จะช่วยให้นักลงทุนพิจารณาได้ว่า ตัวเลขในงบการเงินมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหนอย่างไร มีการคำนวณ มีที่มาหรือวิธีคิดอย่างไร


วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Financial Analysis (4/5) - Cash Flow Statement

Cash Flow Statement
งบกระแสเงินสด

งบกระแสเงินสด หมายถึง รายงานที่แสดงแหล่งที่มาและการใช้ไปซึ่งเงินสดในระหว่างงวดบัญชีอันเนื่องมาจากการดำเนินงาน และจากการเปลี่ยนแปลงในรายการสินทรัพย์หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หรือกล่าวโดยง่าย คือ งบที่แสดงการไหลเข้า-ออกของเงินสดระหว่างรอบบัญชีนั้นเอง

งบนี้มีความสำคัญ เพราะกำไรที่เราเห็นจากงบกำไรขาดทุนนั้นเป็นเพียงกำไรทางบัญชี บางทีบริษัทอาจจะมีกำไรสุทธิทางบัญชีเป็นบวก แต่ว่ากระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงานติดลบก็เป็นได้ ซึ่งถือว่ากำไรทางบัญชีไม่มีคุณภาพ เพราะไม่มีเงินสดมาสนับสนุน

ภาพรวมงบกระแสเงินสด




วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Financial Analysis (3/5) - Income Statement

Income Statement
งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ คือ รายงานที่แสดงผลการดำเนินงานของธุรกิจภายในรอบระยะบัญชีที่ผ่านมา โดยการเปรียบเทียบระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อหาผลต่างสุทธิ กล่าวให้ง่ายคือ การทำบัญชีรายรับรายจ่าย แล้วนำมาลบกัน สิ่งที่ได้คือ ผลกำไรหรือขาดทุน เป็นการชี้ให้เห็นประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทนั้นเอง

งบกำไรขาดทุนนี้นักลงทุนส่วนใหญ่มักชอบดูกัน เพราะเป็นงบที่เข้าใจง่าย แต่สิ่งที่ควรระวังคือ การที่ดูแต่บรรทัดสุดท้ายเฉพาะกำไรสุทธิ เพราะกำไรบรรทัดสุดท้ายนี้อาจถูกบิดเบือนจากรายได้บางประเภท หรือต้นทุนค่าใช้จ่ายบางอย่าง ที่อาจจะมีแค่หนเดียว และไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลย เช่น มีรายได้พิเศษจากการขายที่ดินของบริษัทหรือรายได้จากการเครมประกันน้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งรายได้พิเศษเหล่านี้มีแค่ครั้งเดียว ไม่ได้มีทุกๆไตรมาส

ภาพรวมงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

"รายได้ - ต้นทุนค่าใช้จ่าย = กำไร/ขาดทุน สุทธิ"



Financial Analysis (2/5) - Balance Sheet

Balance Sheet
งบแสดงฐานะการเงิน

งบแสดงฐานะการเงิน หรือชื่อเก่าคืองบดุล หมายถึง งบการเงินที่แสดงฐานะการเงินของบริษัท ใช้ดูฐานะของกิจการว่าบริษัทร่ำรวย ปานกลาง หรือยากจน อย่างไร  

ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่างบดุล ดังนั้นจะต้องมี 2 ฝั่ง และทั้ง 2 ฝั่งต้องเท่ากัน
ฝั่งแรก คือ "สินทรัพย์" และฝั่งที่สอง คือ "หนี้สิน"และ"ทุน" 



Financial Analysis (1/5) - Overview

การวิเคราะห์งบการเงิน

งบการเงิน (Financial Statement) คือ รายงานทางบัญชีที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ถือหุ้นรู้ถึงฐานะและผลการดำเนินงานของบริษัทในรอบระยะเวลาที่ผ่านมา โดยจัดทำขึ้นเมื่อครบรอบระยะเวลาบัญชี เช่น งบประจำไตรมาส 1, ไตรมาส 2, ไตรมาส 3 และงบปี


การวิเคราะห์งบการเงิน เป็นอีกหนึ่งหัวใจของนักลงทุนแบบเน้นคุณค่านอกเหนือจากการประเมินมูลค่าหุ้นที่แท้จริง
การวิเคราะห์งบการเงินจะช่วยตัดอารมณ์และความรู้สึกในตัวกิจการออกไป ข้อมูลตัวเลขที่แสดงอยู่ในงบการเงินเป็นข้อเท็จจริงที่จะช่วยยืนยันและพิสูจน์ว่า กิจการนั้นมีความเข้มแข็ง แข็งแกร่งมากน้อยแค่ไหน อย่างไร และผลการงานบริหารงานของผู้บริหารเป็นอย่างไร เป็นเครื่องมือให้นักลงทุนที่ร่วมเป็นเจ้าของนั้นรู้ถึงผลงานของกิจการ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุนต่อไป

เราสามารถดาวน์โหลดข้องมูลงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทุกแห่งได้จากเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (www.set.or.th) โดยสามารถโหลดแบบรายงาย 56-1 และรายงานประจำปี (Annual Report) 

Source: www.set.or.th


วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Value Investor Way

Value Investor Way
การลงทุนแบบเน้นคุ้นค่า

นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม VI คือ นักลงทุนที่ลงทุนโดยเน้นปัจจัยพื้นฐานของกิจการ (Fundamental) ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์กิจการทั้ง เชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ เช่น การศึกษางบการเงินของบริษัท ดูแนวโน้มธุรกิจ วิเคราะห์อุตสาหกรรม ดูธรรมาภิบาลของผู้บริหาร เป็นต้น



VI มีแนวความคิดที่ว่า การซื้อหุ้นคือการร่วมทำธุรกิจ หรือการซื้อกิจการ หรือกล่าวโดยง่ายคือร่วมเป็นเจ้าของกิจการด้วย โดยราคาหุ้นจะต้องสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) ของกิจการในอนาคตไม่วันใดก็วันหนึ่ง และใช้การตัดสินใจในการเข้าซื้อหุ้นเมื่อมีส่วนเผื่อความปลอดภัย (Margin of Safety, MOS) และจะถือหุ้นนั้นไว้จนกว่าราคาจะเต็มมูลค่า หรือพื้นฐานกิจการเปลี่ยนไป หรือกิจการนั้นเติมโตจนอิ่มตัวแล้ว

วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Introduction to Technical Analysis

Technical Analysis
การวิเคราะห์ทางเทคนิค

การวิเคราะห์ทางเทคนิค คือ การวิเคราะห์หาจังหวะเวลาที่ถูกต้องในการเข้าซื้อและขาย 
โดยมีเครื่องมือทางสถิติเข้ามาช่วย คือ การเก็บข้อมูลราคาในรูปของกราฟ มีการกำหนดอินดิเคเตอร์ต่างๆเข้ามาช่วยในการตัดสินใจ และมีการวิเคราะห์รูปแบบที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามมา



การวิเคราะห์ทางเทคนิคนี้ใช้หลักจิตวิทยาการลงทุน โดยเชื่อว่า

Introduction to Fundamental Analysis

Fundamental Analysis 
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นการวิเคราะห์หลักทรัพย์ (หุ้น) รูปแบบหนึ่ง โดยใช้การพิจารณาลำดับของเศรษฐกิจมายังภาคอุตสาหกรรมและของตัวบริษัทมาวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การพิจารณาคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัทนั้นๆ

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานถือว่าการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจจะส่งผลต่อผลการดำเนินงานและความสามารถในการทำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทนั้นเอง



ขั้นตอนในการวิเคราะห์ปัจจัยพิ้นฐานเบื้องต้นมี 3 ข้อ ดังนี้

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Why INVEST?

ทำไมถึงต้องรู้จักลงทุน?


คำถามนี้ถ้าถามผม ผมก็จะตอบอย่างง่ายๆว่า เพราะ

"การลงทุนให้ผลตอบแทนดีกว่าดอกเบี้ยธนาคาร"

ซึ่งแน่นอนว่า 
  • ถ้าคุณฝากเงินไว้ในธนาคาร คุณจะได้รับดอกเบี้ยประมาณ 1 - 4% ต่อปี แต่ถ้าคุณนำเงินนั้นไปลงทุน 
  • ซื้อหุ้นกู้ หรือพันธบัตร คุณจะได้รับผลตอบแทนประมาณ 6 - 10%
  • กองทุนรวม คุณจะได้รับผลตอบแทนประมาณ 10%
  • หุ้น  คุณจะได้รับผลตอบแทนประมาณ มากน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถ                                                                             
แต่ถ้าคุณไม่ทำอะไรเลย เก็บเงินไว้ที่บ้านเฉยๆ ค่าเงินของคุณกำลังหายไปด้วยอัตราเงินเฟ้อ

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Mindset: SET your Mind

Mindset เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากในการลงทุนในหุ้น 
เป็นเหมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นเครื่องเตือนสติในขณะที่เรากำลังออกเดินทางสู่ตลาดทุนนี้

การปรับทัศนคติหรือตั้งมั่นจิตใจก่อนการลงทุนในหุ้นถือเป็นสิ่งแรกที่ควรทำ 

ผมได้สรุป General Mindset 15 ข้อ ที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อทั้งมือใหม่และมือเก่า สำหรับประยุกต์ใช้
เพื่อไว้เป็นเข็มทิศนำทางและ remind ตัวเองอยู่เสมอ ดังนี้ครับ



Getting to know YOURSELF

รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

ปรัชญาอมตะของซุนวูนี้ยังคงใช้ได้จริงในทุกยุคทุกสมัยทุกวงการทุกอาชีพ
ในที่นี้ปรัชญาดังกล่าวสอนให้เรารู้จัก

"ตัวเราเอง"


เป็นสิ่งแรกก่อนที่จะออกไปสู้รบหรือไปแข่งขันกับผู้อื่น




เหมือนกับการแข่งขันกีฬา ทีมหรือนักกีฬาที่เก่งกาจจะมีการวางแผนการเล่นอย่างรอบคอบ และมีการฝึกซ้อมอย่างหนักก่อนลงสนามจริง 
นักลงทุนก็เช่นเดียวกันจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการวางแผน เพื่อวางยุทธศาสตร์การลงทุนของตนเอง

วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

The 1st Greetings

About this blog



HYBRID INVESTOR
The Hybrid Way to Invest..

เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ หลักการ แนวความคิด และกลยุทธ์ สำหรับการลงทุนในหุ้น การบริหารทางการเงิน (Money Management) และการลงทุนอื่นๆ 
ทั้งที่ตกผลึกแล้วก็ดี และที่ยังไม่ตกผลึกแล้วก็ดี 

เพื่อเป็น Road Map สำหรับการลงทุนของผู้สร้าง blog เอง และแบ่งปันให้กับทุกท่านที่สนใจ 

"โดยใช้หลักการทางด้านปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ควบคู่ไปกับหลักการทางด้านเทคนิค (Technical Analysis)"

เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการลงทุน เพื่อความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนทางการเงินต่อไป (Financial Freedom)


Cheers and happy hunting out there,


Hybrid Investor