วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Financial Analysis (5/5) - Notes to Financial Statement

Notes to Financial Statement
หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน คือ ข้อมูลที่ใช้อธิบายตัวเลขในงบการเงิน โดยจะขยายความข้อมูลต่างๆเพิ่มเติมในรายละเอียด ช่วยให้เข้าใจถึงที่มาของตัวเลขต่างๆ หรือกล่าวโดยง่าย หมายเหตุประกอบงบการเงินก็คือคำแปลความหมายเพิ่มเติมจากตัวเลขที่แสดงในงบการเงินนั้นเอง



หมายเหตุประกอบงบการเงินนี้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน และถือเป็นส่วนที่สำคัญ โดยการเปิดเผยข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งไม่สามารถหาได้จากการอ่านแค่ตัวเลขในงบการเงิน และข้อมูลเชิงคุณภาพเหล่านี้จะช่วยให้นักลงทุนพิจารณาได้ว่า ตัวเลขในงบการเงินมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหนอย่างไร มีการคำนวณ มีที่มาหรือวิธีคิดอย่างไร



ดังนั้นนักลงทุนทุกท่านควรให้ความสนใจอ่านรายงานหมายเหตุประกอบการเงิน อาจจะเยอะหน้าไปซักนิด แต่อยากให้ทุกท่านเลือกอ่านเจาะเป็นรายการที่สนใจ เพื่อที่ว่าท่านจะได้ทราบข้อมูลในด้านอื่นนอกเหนือจากตัวเลข

หมายเหตุประกอบงบการเงิน ประกอบไปด้วย 
  • ข้อมูลทั่วไป
  • เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน
  • นโยบายการบัญชี...
ร่ายเรียงไปเป็นข้อๆจนจบข้อมูลที่ต้องการขยายความ โดยเราจะเห็นรายการในแต่ละบรรทัดในงบการเงินจะมีข้อความอ้างอิงหมายเลขหัวข้อเพื่อโยงไปยังรายงานหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อนักลงทุนจะได้ทราบว่าต้องพลิกไปอ่านคำอธิบายจากหมายเหตุข้อไหน


ข้อสังเกต 
ในงบการเงินหน้าแรกๆจะมีหน้า รายงานของผู้สอบบัญชี โดยในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ผู้สอบบัญชีได้แสดงความคิดเห็นที่มีต่องบการเงิน โดยความเห็นของผู้สอบบัญชีนั้น แบ่งได้ 4 แบบ

  1. แสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข: งบการเงินทั่วไปที่ไม่มีประเด็นปัญหาอะไร ผู้สอบบัญชีจะให้ความเห็นลักษณะนี้
  2. แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข: ถ้าให้ความเห็นแบบนี้แสดงว่า อาจมีส่วนหนึ่งส่วนใดที่ไม่เป็นไปตามหลักบัญชีจึงมีการใส่เงื่อนไขไว้ โดยนักลงทุนต้องควรลองตามดูประเด็นดังกล่าวด้วย
  3. แสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง: ถ้าเจอความเห็นลักษณะนี้ผมแนะนำให้เลิกอ่าน แล้วไม่ต้องสนใจงบการเงินนั้นอีกเลย
  4. ไม่แสดงความเห็น: เจออย่างนี้ต้องขอผ่านเหมือนกันครับ

ตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชี
Source: Annual Report 2012, PTT PLC

ถ้านักลงทุนมีคำถามหรือสงสัยในบางส่วนของงบการเงินก็สามารถโทรไปสอบถาม IR (Investor Relation) หรือฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทที่เราลงทุนได้


ถึงตรงนี้เราก็พอที่จะอ่านและเริ่มวิเคราะห์งบการเงินได้บ้างแล้วนะครับ ผมแนะนำให้ทุกท่านฝึกอ่านงบการเงินบ่อยๆ ยิ่งอ่านมากรู้มากก็จะลดความเสี่ยงในการลงทุนได้ ขอเพียงศึกษาการลงทุนอย่างตั้งใจจริงผมเชื่อว่าการที่จะประสบความสำเร็จในตลาดทุนแห่งนี้นั้นไม่ยากเกินความสามารถของทุกคนครับ 

กลับไปหน้า >> Financial Analysis (1/5) - Overview การวิเคราะห์งบการเงิน


Cheers,

Hybrid Investor

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น