วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

RSI - Relative Strength Index

RSI - Relative Strength Index 

Relative Strength Index (RSI) เป็นเทคนิคที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Wilder J.Welles เป็นดัชนีที่ใช้คำนวณเพื่อหา “กำลังที่ซ่อนอยู่”ของหุ้น (Internal Strength) โดยดูจากอัตราส่วนที่ “แกว่ง” ไปมาระหว่างการขึ้นลง (Range)โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ภายใน “เวลา” ที่กำหนด 
RSI


สูตรคำนวณ

RSI = 100 - [100/(1+RS)]
RS = Average of N period's up close/ Average of N period's down close
หรือ RS = ค่าเฉลี่ยของส่วนต่างของราคาที่ปิดเพิ่มขึ้นใน N วัน/ค่าเฉลี่ยของส่วนต่างของราคาที่ปิดลดลงใน N วัน

ค่า RSI ที่ Wilder J.Welles แนะนำให้ใช้คือ 14 วัน แต่ก็มีผู้นิยมใช้ 9 วันและ 25  วันด้วย


การใช้งานและตีความหมาย

RSI แสดงอัตราส่วนที่แสดงค่าในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นค่าที่ปรากฏจะอยู่ในช่วงสเกลระหว่าง 0-100 

ค่าที่แสดงถึงภาวะการซื้อมากเกินไป หรือ Overbought คือระดับเหนือ 70% ขึ้นไป 
ค่าที่แสดงถึงภาวะการขายมากเกินไป หรือ Oversold คือระดับต่ำกว่า 30% ลงมา


RSI Signal

เมื่อค่า RSI วิ่งเข้าสู่เขต Overbought (ระดับเหนือ 70% ขึ้นไป) จะมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับตัวลดลง 
และในทางกลับกัน หากค่า RSI วิ่งเข้าสู่เขต Oversold (ระดับต่ำกว่า 30% ลงมา) จะมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน

จากสูตร RSI จะเห็นได้ว่า ตัวแปรหลักของการคำนวณค่า RSI คือ จำนวนวันที่นำข้อมูลมาคำนวณ 
สาเหตุที่ Wilder J.Welles แนะนำให้ใช้ 14 วัน เนื่องมาจากการค้นพบว่า ส่วนใหญ่วงจรของหุ้นจะมีระยะเวลาอยู่ที่ประมาณ 28 วัน โดย 1 วงจร จะนับจาก Bottom แรกถึง Bottom ที่สอง ดังนั้นครึ่งหนึ่งของวงจรก็คือ 14 วัน Wilder J.Welles จึงได้นำเอาจำนวน 14 วันมาใช้เป็นหลักในการคำนวณนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีนักวิเคราะห์บางส่วนไม่ได้ใช้ค่า 14 วันในการคำนวณ เนื่องจากหุ้นทุกตัวไม่ได้มีวงจร 28 วันเท่ากัน ทำให้ค่าสัญญาณที่เกิดขึ้นช้าหรือเร็วกว่าที่ควรจะเป็น 

ดังนั้นหากนักวิเคราห์คนไหนต้องการปรับจำนวนวันในการคำนวณ ก็มีหลักในการคิด คือ ให้หาวงจรของหุ้นที่ต้องการนั้น ให้พบว่าใน 1 วงจรมีเวลาทั้งหมดกี่วัน จากนั้นนำค่าที่ได้มาหารสองก็จะได้จำนวนวันที่เหมาะจะใช้คำนวณกับหุ้นตัวนั้นๆ จากนั้นก็ให้ลองทำ Back Test ดูว่าสัญญาณที่เกิดขึ้นในอดีตนั้นแม่นยำหรือไม่อย่างไร


ข้อสังเกต
1. นักวิเคราะห์นิยมดูการทำ Divergence ของระดับราคาหุ้นกับค่า RSI ซึ่งมักจะเป็นช่วงสูงสุดหรือต่ำสุดของตลาด
   (ความหมายของ Divergence คือ เมื่อระดับราคาทำจุดสูงสุดใหม่ แต่ RSI ไม่ได้ทำจุดสูงสุดตาม)
2. RSI ช่วงที่อยู่ระหว่าง 40 - 60 เป็นช่วงสู้กันระหว่างแรงซื้อกับแรงขาย ถ้าทะลุ 60 ขึ้นไปได้ แสดงว่าฝ่ายซื้อได้เปรียบ แต่ในทางตรงข้าม ถ้าลงต่ำกว่า 40 แสดงว่าฝ่ายกำลังได้เปรียบ
3. RSI เมื่อเข้าเขต Overbought แล้วยังสามารถทำ Overbought ได้อีก (ไม่ใช่เห็นเข้าเขต Overbought แล้วให้รีบขาย, คิดว่าขายแพงแล้ว อาจมีแพงกว่า)
   RSI เมื่อเข้าเขต Oversold แล้วยังสามารถทำ Oversold ได้อีก (ไม่ใช่เห็นเข้าเขต Oversold แล้วให้รีบซื้อ, คิดว่าซื้อถกแล้วอาจมีถูกกว่า)
4. ระวังหุ้นที่ราคามักจะวนเวียนอยู่ในเขต Oversold เสมอ อย่าเห็นแก่ว่า Oversold มานานแล้วและเข้าซื้อ ควรหลีกเลี่ยงหุ้นพวกนี้เพราะราคาอาจจะไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน



Cheers,

Hybrid Investor

4 ความคิดเห็น:

  1. I hope you’ll keep up the good work and maintain the standard. RSI Indicator คือ

    ตอบลบ
  2. The very next time I read a blog, Hopefully it won't disappoint me as much as this one. I mean, I know it was my choice to read through, however I actually thought you'd have something helpful to talk about. All I hear is a bunch of crying about something that you could possibly fix if you weren't too busy seeking attention.
    bàn gỗ

    ตอบลบ
  3. Other than being the largest and most talked about financial market out there, Forex has a very appealing characteristic - around-the-clock operation. Being available and opening its doors to international participants at any time of the day is arguably its best characteristic. Even though Forex never sleeps and you have endless opportunities to start trading, some time frames are a better choice. Here is what you should know about the FX exchange hours.

    ข้อดีตลาด Forex

    ตอบลบ